หยุดชีวิตซวนเซ ทีเลห์ลาดัก 6 (Nubra - Turtuk - sand dune)


ติดตามข้อมูลการท่องเที่ยวดีๆ ที่ : 👉👉👉 BACKPACKGO

หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดักSpecial (โรคแพ้ความสูง และการเตรียมตัว)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 1 (์ฺBangkok city - New Delhi)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 2 (New Delhi - Leh City)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 3 (Leh City - Hemis - Thiksey  - Shey Palace - Leh Main Bazaar)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 4 (Lamayuru Monastry - Alchi Monastry - Likir Monastry)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 5 (Leh City - Hunder Nubra Valley)
************************
24 พ.ค. 2561 : Hunder Nubra valley - Turtuk - Sand dune


เมื่อตื่นมาทำให้รู้ว่า อากาศที่นี้แห้งสุดๆ เพราะเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกแตก แต่ไม่ถึงกับเลือดกำเดาไหล แค่เลือดออกมาซิปๆภายใน และเพื่อนก็หน้าแห้งเป็นคุ้ย ทำให้ไม่สามารถแต่งหน้าได้เหมือนปกติ

วันนี้พวกเราเริ่มกันตอน9.00น. โดยจะมีปลายทาง คือ หมู่บ้านturtuk หมู่บ้านชายแดนปากีสถาน ห่างจากหมู่บ้าน nubra ประมาณ80-90กม. กว่าเราจะถึงประมาณ12.00น. แต่วิวระหว่างทาง ควรค่าแก่การไปมาก มันเป็นวิวพาโนรามา ผ่านแม่น้ำ หน้าผา ภูเขาหิน เนินทราย ค่ายทหาร ตลอดทาง
School Bus นี้คือ รถรับส่งนักเรียนที่มีความปลอดภัยและเข้มงวดมากที่สุด555
รร.ประจำหมู่บ้าน ดำเนินงาน ด้วยทหาร สอนและควบคุมคุณภาพนักเรียนด้วยทหาร
สภาพ รร. ของเด็กแถวนี้
อนุสาวรีย์รำลึก ทหารกล้าพื้นที่นี้









บางช่วงเราก็จะพบกับ กลุ่มนักเดินทางด้วย มอเตอร์ไซค์ ที่เดินทางกันตั้งแต่1 คัน ถึง 10 คันก็มี บางกลุ่มก็มีรถยนต์ค่อยปิดท้าย แต่จัดเต็มทั้งชุดทั้งรถ น่าจะเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการดื่มด่ำกับลม ฟ้า อากาศแบบติดขอบ แต่พวกเราขอติดเบาะน่าจะสบายใจกว่า เพราะตลอดทางจะพบกับ หน้าผา หุบเหว คิดแล้วยังแอบกลัวนิดๆเลย

เมื่อถึงสะพานนี้ คือ ทางเข้าหมู่บ้าน Turtuk จะมีเจ้าหน้าที่ ตรวจเอกสารและสอบถามอย่างละเอียด ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อ4-5 ปีที่แล้ว บริเวณหมู่บ้านนี้เป็นของประเทศปากีสถาน แต่ปัจจุบันอยู่ในการควบคุมของทหารอินเดีย จึงเป็นเขตอ่อนไหวต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ
เจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารผ่านทาง

สะพานข้ามเขตแดน
เมื่อถึงบริเวณที่จอดรถในหมู่บ้านตอนแรก คิดว่าไม่มีอะไร ดูธรรมดา แต่พอไกด์พาเราข้ามสะพานเข้าไปเท่านั้น พวกเราร้องwow! พร้อมกัน ทุ่งหญ้าเขียวขจี โอบล้อมด้วยบ้านผู้คน ที่มีแนวทิวเขาขนาบ2ข้าง เราเดินเข้าไปได้พบชาวบ้าน ผู้คนใช้ชีวิตที่สบายๆ กับความพอเพียงแต่สัมผัสได้ถึงความสุขที่ล้นเหลือ
สะพานที่เราต้องข้ามไปแบบ งงๆ ในตอนแรก


ผ่านท้องทุ่ง และร่องน้ำที่ใสสะอาดน่าสดชื่น ลมพัดยอดต้นข้าวปลิวลู้ตามลม มากับเสียงกระทบกันของใบไม้ มีชาวบ้านกำลังลงมือปลุกข้าว ทำสวนไปดูแลลูกน้อยที่อยู่ข้างๆไป เราเดินไปจนสุดปลายท้องนา



  





และก็ลัดเลาะเข้าไปที่ตัวหมู่บ้าน เป็นทางเดินประมาณ2คนเดินสวนกัน มีตรอกซอกซอยไปเรื่อยๆ มีร่องน้ำอยู่ข้างทางเดิน ที่มีต้นไม้บังแดดทั้งหมู่บ้าน บางช่วงเราก็เห็นก๊อกดื่มน้ำหมู่บ้าน




บ้านที่เขาว่า เป็นบ้านเก่าแก่รูปแบบโบราณที่สุดในหมู่บ้าน
 


ก๊อกน้ำประปาประจำหมู่บ้าน
และที่highlight ที่ไกด์เราพาไปชม คือ natural freeze ร่องลมเย็นเจี๊ยบที่ออกมาจากรูหินธรรมดา(เป็นที่เฉพาะคนที่รู้จริงๆ เพราะไกดด์พาเราเข้าไปส่วนลึกของหมู่บ้าน)​ และชี้ให้เราเข้าไปสัมผัสความเย็นยิ่งกว่าเปิดประตูช่องฟรีสตู้เย็นบ้านเราซะอีก เป็นที่น่าอัศจรรย์มากที่เราได้เจอสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติสร้างอย่างน่าตกตะลึง
ช่องลมเย็กยะเยือก Natural freeze
เมื่อสัมผัสอย่างเต็มที่ ก็เดินกลับมารับประทานอาหารกลางวันที่หน้าทางเข้าหมู่บ้านวันนี้เพื่อนลองสั่ง น้ำapicot juice ดูที่ฉลากเขียนว่า ผลิตที่เขตturtukนี้ พอลองแล้ว. แทบพุ่ง.. น้ำตาจะไหล!! T T ไม่ถูกปากอย่างแรง น้ำเหมือนบ้วยดองมาแรมปี เปรี้ยวหวานแปลกๆ แต่ถ้าใครอยากลอง ผมก็แนะนำนะครับอาจจะชอบ และผมก็สั่งข้าวผัด ที่มีรสเครื่องเทศ และน้ำโค้ก2กระป๋องมีแชร์กับเพื่อน ส่วนไกด์ผมเอาตัวรอดสั่งข้าวไข่เจียว  ราคาของเราสองสามคน คือ 300Rs


เวลาประมาณ 13.30น. เราก็เดินทางกลับ หมู่บ้านnubra แม้จะกลับทางเดิม แต่เราก็ยังอดที่จะหยิบกล้องถ่ายรูป, มือถือ ขึ้นมาเก็บภาพธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่เกินคำบรรยายนี้ไม่ได้เลย





16.00น. เราใกล้หมู่บ้านมากแล้ว ที่สิ่งที่ทำให้เราดีใจ แต่ไกด์เซ็ง คือ มีพายุทะเลทราย ใกล้ๆหมู่บ้าน ครอบคลุมวัดdisketจนทำให้เรามองตัววัดไม่เห็น และใกล้จนคาดว่าจะทับกับทะเลทรายที่ขี่อูฐ ทำให้ไกด์ต้องพาเรามาที่รร.ก่อน พักสัก1ชม. ค่อยออก ถ้าสถานการณ์ดีขึ้น

ที่ขาวขุ่น คือ พายุทะเลทราย

ประมาณ17.00น. ไกด์บอกว่า น่าจะไปได้แล้ว เราเลยเก็บข้าวของกัน เพื่อไปทะเลทราย ห่างไปแค่5นาที (ค่าผ่านทาง 40Rs)แต่เราก็ยังเห็นลมแรงพัดหอบเอาเม็ดทรายทะยานขึ้นไปบนฟ้า ยิ่งกว่าหมอกควันซะอีก แต่โชคดีที่บริเวณขี่อูฐนั้นอยู่ปลายๆลมนั้น ทำให้ยังพอขี่กันได้ แต่ที่เราเซ็งกว่าพายุลมแรง คือ พายุคลื่นมหาชนชาวอินเดียที่รัก รถนักท่องเที่ยวจอดกันเต็ม

เราเดินเท้ากันเข้าไป ก็พบกับคนอินเดีย(อินเดียใต้แท้ๆ)​อยู่กันเต็มลาน บังอูฐกันจนมิด ไกด์ไปถามเรื่องคิว ซึ่งได้คำตอบว่า ยาวมากๆๆๆๆ(ราคา200Rs/ท่าน/15นาที) พวกเราจึงตัดสินไม่ขี่อูฐ แค่ถ่ายรูปก็พอ

แต่สิ่งที่เราพบเจอ คือ สันดานไม่สนโลกของพวกคนอินเดีย ยืนล้อมอูฐ ถ่ายรูป บางกลุ่มก็แย่งกันขึ้นอูฐ บางกลุ่มก็ทะเลาะกันข้างอูฐ บางคนก็ลากอูฐน้อยเพื่อมาถ่ายรูป บางคนก็แกล้งอูฐน้อยตีที่ตัวบ้าง ตีที่หัวบ้าง บางคนล็อกคออูฐน้อยเพื่อหันมาถ่ายselfieกับตัวเอง เป็นภาพที่น่าสงสารสัตว์ อุจาท ทุเรศและย่ำแย่ของสันดานคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้จริงๆ แม้แต่พวกเราก็โดน เราอยากจะถ่ายกับลูกอูฐกัน รอจนคนน้อยลง เหลือแค่2คน เราก็ให้เขาถ่่ายกันก่อนจนเสร็จ พอเราจะถ่ายบ้าง มันก็เดินกับมาล็อคคออูฐน้อยเฉยๆ ดึงตัวอูฐน้อยจนมันร้อง จนอูฐน้อยต้องเดินหนี เลวมาก และทั้งๆที่คนนี้ก็ถ่ายภาพไปแล้ว ผมเลยมีโอกาสได้ถ่ายกับอูฐน้อยช่วงที่มันเดินหนี และพวกเราเลยตัดสินใจกลับ มาที่รถ เพราะทนกับความรู้สึกห่วยแตก ตรงข้ามกับธรรมชาติที่สวยงามไม่ได้จริงๆ(ใครจะว่า 2 วันนี้ ผมอคติกับคนอินเดียส่วนใหญ่ ผมก็ยอมรับ เพราะมันเกินปุธุชนคนธรรมดาจริงๆ *มันเป็นความโชคร้ายที่พวกเรามาช่วงวันหยุดยาวของพวกอินเดีย ทำให้เราต้องมาเจอกับคนไร้อารยธรรมและจิตสำนึก :: แต่คนท้องถิ่นเลย์ คนที่nubra และ คนที่turtukนั้นเป็นคนดีมากๆ เป็นมิตร น้ำใจงาม ยินดีช่วยเหลือ และมีรอยยิ้มจริงใจให้กับนักท่องเที่ยวเสมอ)



เรากลับมาพักผ่อนที่ รร. เพื่อรอทานข้าวเย็นของวันที่ รร. วันนี้ รร. ที่เราพักเต็มทุกห้อง พวกอินเดียเข้ามาพักจนเต็ม และเราก็ทำใจ เพราะไกด์บอกว่า ที่pangong lake ก็น่าจะมีพวกอินเดียอยู่ที่นั้นไม่น้อย.

ความคิดเห็น