หยุดชีวิตซวนเซ ทีเลห์ลาดัก 4 ( Lamayuru - Alchi - Likir monastry)


ติดตามข้อมูลการท่องเที่ยวดีๆ ที่ : 👉👉👉 BACKPACKGO

หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดักSpecial (โรคแพ้ความสูง และการเตรียมตัว)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 1 (์ฺBangkok city - New Delhi)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 2 (New Delhi - Leh City)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 3 (Leh City - Hemis - Thiksey  - Shey Palace - Leh Main Bazaar)
*************************
22 พ.ค. 2561 : Lamayuru Monastry - Alchi Monastry - Likir Monastry


วันนี้เป็นวันที่พวกเราอยู่บนความสูงประมาณ 3,500ม.เหนือระดับน้ำทะเล อาการโรคแพ้ความสูงดีขึ้นเป็นลำดับ เรื่องปวดต้นคอบรรเทาลงไปเยอะมาก แต่จะมีอาการเหมือนจะอ้วกนิดหน่อย เพราะไม่ได้ถ่ายท้องเลยตั้งแต่มา และเมื่อคืนพวกเราก็เหมือนจะนอนกันน้อยทั้งคู่ ผมตื่นและนอนหลับไม่สนิท แต่เพื่อนจะนอนไม่ค่อยหลับ



แต่สุดท้ายเราก็ต้องเริ่มออกเดินทางกันประมาณ7.45น. เริ่มสตาร์ท วันนี้ ไกด์พวกเราลงมือขับเอง ระยะทางประมาณ 120 กม. ไกด์บอกประมาณ 1.30 ชม. แต่เอาเข้าจริงเกือบ3ชม.
เป้าหมายเราคือ วัด Lamayuru monastry. เพราะผมขอหยุดบ่อยมาก เพราะมองไปทางไหนก็เจอแต่วิวภูเขาตัดกับแม่สีเขียวมรกต สลับกับต้นไม้เขียวขจี เป็นระยะๆ เราผ่านเขตทหารรอบสนามบินก่อนออกนอกเมือง เราจะเห็นรถบรรทุกทหารวิ่งกันเป็นแถวตลอดทาง


จุดแรกที่เริ่มแวะแบบเป็นhighlight. คือ Magnatic hiil หรืออีกชื่อ Gravity hill บ้านเราก็คือ เนินมหัศจรรย์​ ที่รถใส่เกียร์ว่างแล้วสามารถไหลขึ้นเนินได้



จุดที่สอง คือ Sangam viewpoint จุดที่แม่น้ำสินธุ(Indus) กับซันสกาย มาบรรจบกันและไหลไปทางประเทศปากีสถาน เราได้เพลิดเพลินกันแม่น้ำ2สายมาไหลมา เกิดเป็นแม่น้ำ2สีอย่างชัดเจน มีทิวเขาสีน้ำตาลแดงค่อยประกบไว้ทั้ง2ด้าน ประกอบกับลมเย็นที่ผ่านจากร่องเขามาประทบทุกตัวตลอดเวลา จนอยากจะหยุดเวลาไว้นานๆ แต่ยังไงเราก็ต้องเดินทางต่อ





ไกด์พาเราแวะจุดชมวิวหนึ่งข้างทาง เราถ่ายรูปสักพัก ไกด์ก็บอกขอตัวทำธุระแปบ ที่แท้ไปยิงกระต่าย ผมเริ่มถามเพื่อนอยากทำธุระไหม เพื่อนก็ลังเล คือปวดก็ปวดแต่มันรู้สึกแปลก แต่สุดท้ายเพื่อนผมก็ลองแบบกล้าๆกลัวๆ กริ๊ดปนสีหน้าไม่มั่นใจชีวิต ผมเห็นเหมือนซากบ้านหินไม่มีหลังคา น่าจะสะดวกใจสำหรับสุภาพสตรี เลยบอกให้เข้าไปด้านหลังข้างใน ผมลงมายื่นเฝ้าเป็นยามอยู่ด้านล่างสุดท้ายกลับออกมาพร้อมรอยยิ้มบานปริ แล้วบอกว่า"มันดีมาก เป็นจุดปลอดภัยที่สุดยอด" เพื่อนผมผ่านชีวิตติดกับธรรมชาติแล้ว ผมเลยเข้าลอง
บรรยากาศหลังบ้าน มันโอเคที่ว่า อยู่บนเนินเข้่า มีผนัง3ด้านกันคน และมีเนินเข้าชันอยู่ด้านบน ทำให้มิดชิด และมีท้องฟ้าใสๆเป็นหลังคา พอขึ้นรถ ผมเลยแซวเพื่อนว่า "เพื่อนผมได้ผ่านบ้านแรกไปอย่างสมบูรณ์แล้ว รอบหน้าถ้าปวดอีกจะหาบ้านหลังใหม่ให้555"จากสนุกสนานกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป พวกเราก็มุ่งไปข้างหน้าต่อ

จุดที่ 3 คือ Moon land เป็นเนินเขาสูง ที่มีสีออกครีมแทรกดำๆเทาๆ คล้ายแพะเมืองผีและไม่เหมือนซะที่เดียว ซึ่งเขาเชื่อว่าลักษณะคล้าย ผืนผิวบนดวงจันทร์...


ในที่สุด เราก็ถึงเป้าหมายแรก คือ
วัดLamayuru monastry (วัดลามะยูรู)มีอีกชื่อหนึ่งว่า ยุงตรุง ทาปาลิง กอมป้า (Yungdrung Tharpaling Gompa) บนเส้นทางถนนสายตะวันตก จากเมืองเลห์ไปยังเมืองคาร์กิล แล้วต่อไปสู่เมืองศรีนาคาร์ ของแคว้นแคชเมียร์ ที่ระดับความสูง 3,390 เมตรเหนือระดับน้ำทะล ช่วงกลักกิโลเมตรที่ 125 คือที่ตั้งของวัดสำคัญที่เก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในดาลักห์
  มีตำนานเล่าว่า พระอรหันต์นิมากุง จาริกแสวงบุญมาถึงที่แห่งนี้เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว แต่ก่อนสภาพบริเวณนี้เคยเป็นทะเลสาบ ท่านได้ทำนายว่าพื้นที่บริเวณนี้จะเกิดวัดที่สร้างศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงได้ตั้งเสาธงมนต์ไว้เป็นการปักหมุดสำคัญ พร้อมกับการแผ่กุศลด้วยการหว่านเม็ดข้าวโพดให้กับดวงวิญญาณของนาคที่อยู่ในทะเลสาบ ในเวลาต่อมาเม็ดข้าวโพดได้งอกงามกลายมาเป็นเครื่องหมายสวัสติกะ เมื่อท่านริมโปเช่ ซังโป พระลามะจากอาณาจักรกูเก ของทิเบตตะวันตก มาสร้างวัดตามคำทำนาย จึงตั้งชื่อวัด ยุงตรุงฯ ซึ่งในภาษาทิเบตหมายถึง สวัสติกะ และยังมีความเชื่ออีกว่าท่านมหาสิทธานาโรปะได้เคยมาบำเพ็ญศีลอยู่ที่นี่ด้วย
  อาคารและเจดีย์ จะสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบด้วยโคลนตากแห้ง ทำให้อาจจะไม่ปราณีตมากนัก
สถานที่ตั้งวัดอยู่บนยอดเชิงเขาทราย เป็นจุดชมวิวmoon land เพราะวัดนี้มีพื้นที่ Moon land ล้อมรอบวัด วัดนี้ไกด์ให้เราเดินสำรวจกันเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็คล้ายกับวัดที่ผ่านมา (ค่าเข้าชม คนละ50Rs)​
*วัดลามะยูรูเคยเป็นของสงฆ์ ฝ่ายกาดัมปะ (Kadampa) แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นวัดของสงฆ์สายตริกุง-กาจูรย์(Drigung Kagyu) ในอดีตแห่งนี้เคยมีอารามอยู่ถึง 5 กลุ่ม แต่ในปัจจุบันเหลือเพียงวิหารกลุ่มใจกลางเท่านั้น มีพระสงฆ์อยู่ประมาณ 150 รูป ที่วัดจะมีพิธีสำคัญที่เรียกว่า Yuru Kabgyat ซึ่งจะจัดทุกวันที่ 17-18 เดือนห้าตามปฏิทินจัทรคติของทิเบต โดยในงานจะมีการเต้นระบำหน้ากาก และนำผ้าพระบฏอันเก่าแก่ออกมาคลี่บูชา





ไม่นานนัก เราก็นั่งรถลงมาทางเดิม เพื่อไปเป้าหมายที่2 คือวัด Alchi monastry เราแวะทานอาหารกลางวันกันที่หน้าทางเข้าวัด เป็นร้านอาหารอินเดีย มีแต่คนอินเดียมาทาน แต่บรรยากาศใช้ได้ เราดูเมนูกันแล้วก็ยิ้ม เพราะส่วนใหญ่จะเป็นอาหารอินเดีย ที่พวกเราไม่ถนัดเอาซะเลย ก็เลยสั่งอาหารยอดฮิต ข้าวสวยกับไข่เจียว เพราะผมมีน้ำพริกกุ้งฟูมาด้วย ค่าเสียหายมื้อนี้ 3คน รวมกัน 490Rs

ก่อนเข้าถึงตัววัด จะผ่านหมู่บ้านAlchi เป็นหมู่บ้านชาวทิเบตชุมชนเก่าแก่เช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นในลาดักห์ แถวหมู่บ้านอัลชิเป็นเขตที่อุดมไปด้วยน้ำในยามฤดูร้อนทำให้มีน้ำเพียงพอสมบูรณ์สำหรับปลูกพืชผลเช่น ข้าวสาลี พืชผักต่างๆ แอปเปิ้ล แอปปลิคอต ที่อัลชิ เป็นหมู่บ้านที่ปลูกแอปเปิ้ลมากแห่งหนึ่งของลาดักห์

เมื่อทานเสร็จเราก็เข้าไปสำรวจวัด Alchi monastry(วัดแอลชิ)​กัน, ซึ่งเป็นวัดโบราณเก่าแก่มาก ด้วยศิลปะและการจัดสร้างไม่เหมือนวัดในเลย์ทั่วไปเลยแถมยังตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ เริ่มที่ส่วนอาคารแรกที่เป็นhighlight ของวัด คือ จิตรกรรมฝาผนังโบราณ วาดภาพพระพุทธเจ้า พระโพธิ์สัตว์ และเทพเจ้าต่างๆ ที่ใช้สีสรรเข้มสดใสสวยงามและทรงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมอย่างมาก และมีรูปปั้นพระพุทธรูปและพระโพธิ์สัตว์องค์โต 3 องค์ (เราต้องเสียค่าเข้าชม คนละ 50Rs) เมื่ออกมาภายนอก ก็จะเห็นงานแกะสลักไม้ ซึ่งศิลปะทั้งวัดถูกสร้างในคริสตวรรษที่11 และก็ยังมีอีก2 อาคาร 4 ห้องใหญ่ ที่มีว่าโบราณน่าสนใจและทำให้รู้สึกถึงความน่าเลื่อมใสและเคารพบูชาเป็นอย่างมาก (ทุกห้องทุกอาคาร ห้ามถ่ายรูป, ห้ามจับแตะต้องผนังและรูปปั้น, ต้องถอดรองเท้าเสมอ) เมื่อมีกฎห้าม ผมเลยไม่มีรูปมาอวดความโบราณที่สวยงามได้ แต่ถ้าใครชอบแนวโบราณวัตถุ ประวัติศาสตร์
เมื่อเราดื่มด่ำกับศิลปะโบราณอย่างละเอียด ก็ไปเป้าหมายสุดท้ายของวันนี้กัน
* ภายในอาคาร วิหารต่างๆ จะมีแสงสว่างผ่านเข้าไปได้น้อย อาจจะต้องใช้ไฟฉายช่วยในการดูรายละเอียดศิลปะต่างๆ




เป้าหมายสุดท้ายของวัน คือ วัด Likir monastry (วัดลิกิร)
ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Klu-kkhyil Gompa (วัดกลู-กห์ยิล)ซึ่งเเปลว่าจิตวิญญาณเเห่งสายน้ำ
เป็นวัดพระนั่งใหญ่เป็นพระพุทธรูปพระศรีอาริยเมตไตรยสูง 25 เมตรประทับอยู่กลางเเจ้ง  และมีอาคารศาสนสถานที่ต้องเดินเข้าไปภายในเขตวัดสักหน่อย ถึงรู้ว่า ที่นี้เป็นวัดพระนิกายหมวกเหลือง





พอเราจะเดินกลับมาที่จอดรถ เราก็ต้องตื่นเต้นกับ ประปาสาธารณะของวัด เราเดินสำรวจวัดกันไม่นาน ก็เดินทางกลับสู่ที่พัก รร.


วันนี้ ผมต้องเตรียมตัวจัดกระเป๋า ไปพักนอกเมืองอีก3 คืน เลยอาบน้ำสระผมกันเต็มที่(วันแรกที่ถึงพวกเราไม่ได้อาบน้ำ กันอาการช็อกและโรคแพ้ความสูง)​
และวันนี้เราก็อยากทานมาม่าเผ็ดอย่างมาก เลยจัดกันในมื้อเย็น.
*ผมถามราคารถถ้าเรียกจากเมืองเลย์ ไปวัดลามะยูรู ประมาณ 4000Rs (ประมาณ2000บาท)
----------------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลการท่องเที่ยวดีๆ ที่ : 👉👉👉 BACKPACKGO


ความคิดเห็น