หยุดชีวิตซวนเซ ทีเลห์ลาดัก....Special (โรคแพ้ความสูง และ การเตรียมตัว)

ติดตามข้อมูลการท่องเที่ยวดีๆ ที่ : 👉👉👉 BACKPACKGO

**************************

โรคแพ้ความสูง (AMS : Altitude Mountain Sickness)


        ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น เมื่ออยู่ในพื้นที่สูง 2500-3000 m. เหนือระดับน้ำทะเล ขึ้นไป  ทุกคนสามารถเป็นได้ ไม่ว่า คุณจะ เป็น เพศไหน อายุเท่าไร แข็งแรงหรือออกกำลังกายมาแค่ไหนก็ตาม มีโอกาสเป็นหมดทุกคน มันแล้วแต่จริงๆ
        ซึ่งเมืองเลห์ จะอยู่ที่ความสูงประมาณ 3500 ม. จากระดับน้ำทะเล จึงมีโอกาสเป็นโรคนีได้ บวกับการเดินทางไปถึงด้วย เครื่องบิน จึงทำให้เราขึ้นที่สูงเร็วเกินไป เท่ากับการเพิ่มอัตราการเกิดโรคนี้มากขึ้นไปอีก ด้วยความสูง ที่ทำให้ออกซิเจนในอากาศลดลง เราต้องหายใจเพื่อสูดออกซิเจนในปริมาณที่มากขึ้น และความดันที่กดกันเรา

       อาการ
            - ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดลูกตา มีนหัว
            - นอนไม่หลับ เหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว
            - หายใจไม่ทัน รู้สึกหอบและเหนื่อยง่าย
            - หน้ามืด หลงทิศ เดินเซ
            - รู้สึกตัวร้อน ขณะที่อากาศหนาวมาก
            -  มีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
            - รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนล้า ไม่มีแรง

      สาเหตุ
            - การเดินหรือไปอยู่ที่สูงเร็วเกินไป พักน้อย หรือ ออกแรงใช้กำลังมากเกินไป
            - ภาวะขาดน้ำ
            - คนที่มีเม็ดเลือดแดงต่ำ เพราะจะขาด ออกซิเจนได้ง่าย

      วิธีป้องกัน
           - พยายามสังเกตตัวเองตลอดเวลา ถ้ามีอาการไม่ดี ผิดปกติ แล้วรีบแจ้งไกด์หรือผู้ร่วมเดินทางทันที
           - พยายามเดินช้าๆ ทำอะไรช้าๆ
           - พยายามทานกระเทียม และน้ำขิง สามารถทานกระเทียมแคปซูล หรือ ซุปกระเทียม
           - หลีกเลี่ยงการดื่ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
           - ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 4-5 ลิตร
           - หลีกเลี่ยงการนอนพัก ขณะเดินทาง(ระหว่างทาง) ที่ความสูงมากกว่า 3000 m.
           - อาหารควรทาน ประเภท คาร์โบไฮเดต เพราะการย่อยจะใช้ ออกซิเจน น้อยกว่า อาหารประเภท โปรตีน ไขมัน ควรทานมื้อละน้อยๆ แต่เพิ่มมื้ออาหารให้มากขึ้น
           - ทานยาป้องกัน มี 2 ชนิด (แค่ป้องกัน ไม่ใช่การรักษาโดยตรง)
            1. Acerazolamide (Diamox) ควรทานก่อนเดินทาง 24-48 ชม. ไปที่ 3000 m.เหนือระดับน้ำทะเล เช้า-เย็น และทานจนถึงวันเดินทางกลับ ผลข้างเคียง คือ ลิ้น มื้อ เท้า จะชา ปวดปัสาวะบ่อย
            2. Dexmethasone มี2 แบบ คือ แบบฉีดกับทาน ซึ่งทานวันที่เริ่มขึ้น 3000 m. เช้า-เย็น

      เมื่อเกิดอาการ  
           - ให้หยุดกิจกรรมต่างๆทันที ห้ามเดินขึ้นต่อ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
           - ถ้าสามารถเดินลงได้ ให้เดินลงสู่ที่ต่ำลงทันที อาการก็จะดีขึ้น
           - ถ้าอยู่ที่พัก(โรงแรม) ให้หยุดพักอยู่ที่ความสูงนั้น เป็นเวลา 1-2 วัน อาการจะดีขึ้น
           - ใช้ กระป๋องออกซิเจน (เป็นแค่พยุงอาการไว้เท่านั้น)
           - นอนพักอยู่กับที่(ในที่พัก) และดื่มน้ำเปล่ามากๆ      
           - ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือทรุดหนักลง ให้ดำเนินการ พบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทันที(ห้ามรีรอ)!!

          * ตอนนอน อาจจะมี สะดุ้งตื่น เนื่องจาก อากาศมีออกซิเจนน้อย ทำให้ร่างกายกระตุ้นปลุกอัตโนมัติ

 Tipที่เลห์ :
                   1. เมื่อถึงที่เลห์ในวันแรก ให้นอนพักที่โรงแรมให้มากที่สุด ไม่ต้องทำสิ่งใด แต่ห้ามหลับนอนขณะเดินทางเด็ดขาด
                   2. ดื่มน้ำ จิบน้ำตลอดเวลา อย่างน้อยต้องเกินวันละ 3 ลิตร ติดกระติกน้ำหรือขวดน้ำข้างตัวตลอด
                   3. อย่าพยายามอั้นปัสสาวะ ให้รีบหาที่ปล่อยของ (แต่อาจจะไม่ชินกับ หินข้างทางก็ตาม)
                   4. ถ้าตัดสินใจทานยา Diamox ควรทานก่อนวันเดินทาง 1-2 วัน
                   5. ควรรักษาระดับความอบอุ่นของร่างกาย เน้นที่ศีรษะ มือ เท้าและ หน้าอก ให้อุ่นอยู่เสมอ
                   6. เตือนตัวเอง ให้ทำทุกอย่างช้าๆ เดินช้า ขยับตัวช้า ก้าวช้า เพราะอาจจะตื่นเต้นกับความสวยงามของธรรมชาติตลอดเวลา
                   7. เมื่อไม่ไหว หรือรู้สึกไม่ดี ให้บอกอาการกับไกด์หรือผู้ร่วมเดินทางทันที และหยุดทุกอย่าง ถ้าอยู่ข้างนอก ให้นั่งพักสักครู่ดูอาการ ถ้าอยู่ที่พัก ให้นอนพักที่ห้องและยอมข้ามกิจกรรมนั้นๆไป
                   8. พยายามสั่งซุปกระเทียม หรือ ดื่มน้ำขิง หรือ ทานกระเทียมแคปซูล ทุกวัน
                   9. ลดการสูบบุหรี่ และงดการดื่มแอลกฮอล์ เพราะจะทำให้การดูดซึมออกซิเจนในเส้นเลือดยากขึ้นไปอีก
                  10. ก่อนเดินทางไปเลห์ ให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการทำงานดีกนอนดึก
                  11. พยายามออกกำลังกาย เพื่อช่วยหัวใจในการบีีบและดูดซึมออกซิเจนในอัตราปกติ
                  12. ยังไม่ควร อาบน้ำ ในวันแรกที่ถึงเลห์ และไม่ควรราดน้ำร้อนทั้งตัวทันที ให้ค่อยๆปรับร่างกายก่อน
                  13. ถ้านักเดินทางท่านใด มีโรคส่วนตัว เกี่ยวกับ หายใจ หัวใจ และไมเกรน ควรไปพบแพทย์เช็คร่างกายก่อนทางเดินทาง *โรคเกี่ยวกับหัวใจ,ปอดและเม็ดเลือดแดงต่ำ ให้ตรวจเช็คอย่างละเอียด*
                 14.กินอย่างเหมาะสม. มีอาหารหลายประเภทที่คุณควรกินเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางและเพื่อป้องกันอาการป่วยเพราะที่สูง ผลการศึกษาชี้ว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงสามารถบรรเทาอาการของโรคจากการขึ้นที่สูงฉับพลันได้ รวมถึงพัฒนาอารมณ์และสมรรถภาพร่างกาย ผลการศึกษาอื่นๆ เปิดเผยว่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด สามารถเพิ่มขึ้นจากคาร์โบไฮเดรตในระหว่างการทดลองที่จำลองระดับความสูงได้เช่นกัน มีความเชื่อว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตช่วยสร้างความสมดุลของพลังงานในร่างกาย คุณควรกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงก่อนและระหว่างช่วงที่ร่างกายกำลังปรับตัวให้คุ้นเคยกับสภาพอากาศโดยรอบ
                    - อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงได้แก่ พาสต้า ขนมปัง ผลไม้และอาหารที่มีมันฝรั่งเป็นส่วนประกอบ
                    - นอกจากนี้ ก็ไม่ควรกินเกลือมากไป เกลือปริมาณมากเกินไปจะทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายขาดน้ำ ต้องเลือกซื้ออาหารตามซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีฉลากบอกว่าเกลือต่ำหรือไม่มีเกลือเป็นส่วนประกอบ
                    --- วันที่ต้องระวัง คือ 1-2วันแรก, วันที่เดินทางสู่ถนนที่สูงที่สุดในโลก Khardung la 5,600ม.,และที่นอนค้างคืนที่ทะเลสาบแปงกอง--
--------------------------------------------------------------------------

การเตรียมตัว สู่ สวรรค์บนดิน ทิเบตน้อยในดินแดนอินเดีย เลห์ลาดัก ในช่วงเดือน เม.ย-พ.ค.
  
                  1. กระติกน้ำ เพื่อเติมน้ำดื่มตลอดทางและ ตอนที่อยู่สนามบิน
                  2. เสื้อแจ็กเกต เสื้อโค้ท เสื้อกันหนาวต่างๆ พร้อมอุปกรณ์กันหนาว
                  3. ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าพันคอ และหมวกไหมพรมที่กันหนาวได้ดี โดยเฉพาะที่ทะเลสาบแปงกอง
                  4. แว่นตากันแดดที่สีเข้ม และหมวกกันแดด
                  5. ครีมบำรุงผิว โลชั่นทาผิว ครีมกันแดด วาสลีน และลิปมัน
                  6. ผ้ากันฝุ่น ผ้าปิดจมูก หรือ ผ้าบัฟ
                  7. รองเท้าผ้าใบ หรือ เดินป่า ก็ได้
                  8. ไฟฉาย เพราะไฟดับเสมอเป็นปกติ
                  9. กระเป๋าเดินทางใบเล็ก เพื่อแยกสัมภาระเดินทางไปพักนอกเมือง
                  10. ชุดนอน ที่พอกันหนาวได้
                  11. ชุดอาบน้ำ แชมพู สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ล้างหน้า
                  12. ถุงร้อน (ถ้ามี)
                  13. อาหารแห้ง มาม่า น้ำพริกแห้ง ซอสพริก ซอสแม็คกี้ ปลากระป๋อง
                  14. กล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์ต่างๆ
                  15. ลูกอมและขนมขบเคี้ยวต่างๆ เล็กน้อย แต่อย่าเอาเป็นถุงไปเพราะ ถุงจะบวมระเบิดได้
                  16. powerbank เป็นสิ่งจำเป็นมาก แต่ต้องไม่เกิน 30000 mpa
                  17. ยาประจำตัว,ยาสามัญ,ยาดม,ยาหม่อง,กระเทียมแคปซูล,เกลือแร่,ยาแก้ท้องเสีย,ยาเมารถ,ยาแก้ท้องผูก
                  18. ปากกา
                  19. ผ้าเช็ดหน้า เพื่อใช้ระหว่างการเดินทาง
                  20. กระดาษทิชชู่ กระดาษเปียก แอลกอฮอล์ล้างมือ
                  21. นาฬิกาที่สามารถจับการเต้นของหัวใจได้ (ถ้ามี)
                  22. แป้งโยคี เพื่อใส่กันความชื้นและกลิ่นของรองเท้า
                  23. ประกันภัยการเดินทาง ที่ครอบคลุมการบาดเจ็บ และเคลื่อนย้ายฉุกเฉินด้วย
                  24. สำคัญที่สุด** พาสปอร์ต**  ต้องติดตัวเสมอ เพราะไปตามสถานที่ต่างๆ จะมีผ่านด่านตรวจ ตลอดทาง ดั้งนั้น ห้ามหาย ห้ามลืมเด็ดขาด

-------------------------------------------------------------

ติดตามข้อมูลการท่องเที่ยวดีๆ ที่ : 👉👉👉 BACKPACKGO

หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 1 (์ฺBangkok city - New Delhi)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 2 (New Delhi - Leh City)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 3 (Leh City - Hemis - Thiksey  - Shey Palace - Leh Main Bazaar)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 4 (Lamayuru Monastry - Alchi Monastry - Likir Monastry)
หยุดชีวิตซวนเซ ที่เลห์ลาดัก 5 (Leh City - Hunder Nubra Valley)

ความคิดเห็น