ตะลุยกัน มันทุกที่ นี้คือเนปาล.. (เก็บตก Pokhara-Kathmandu City site)

 
สามารถติดตามตอนที่แล้ว รีวิว Review Annapurna Base Camp1 (ก่อนเริ่มเดินทาง)
                                      รีวิว Review Annapurna Base Camp2 (BKK-KTM-Pokhara)
                                      รีวิว Review Annapurna Base Camp 3 (Hinle-Ulleri-Ghorepani)
                                      รีวิว Review Annapurna Base Camp4 (Ghorepani-Poonhill-Tadapani-Chhommrong-Himalaya)
                                      รีวิว Review Annapurna Base Camp5 (Himalaya-ABC-ฺBamboo-New Bridge-Nayapul-Pokhara)

 เมือง โปขรา (Pokhara)

    หลังจาก ที่เดินขาบาน ขึ้นเขาไป ABC แล้ว พวกเราก็ลงมาพัก ในเมือง Pokhara(โปขรา) แค่วางของในห้องพัก Crystal Palace แล้ว ผมก็เตรียมกระเป๋าเป้ และแบกกล้องออกไปทันที เพราะเวลามีน้อยใช้สอยอย่างประหยัด โดยผมได้ โบกรถแท็กซี่ ไปที่ Devis fall ค่ารถไป 400 Rs เพราะรถประจำทางเวลานั้น น่าจะหมดแล้ว และก็ต้องไปต่อหลายต่อกว่าจะถึง(จากที่พนักงาน รร. และ พี่ดำ ไกด์ บอก)
     เริ่มมารู้จักเมืองโปขรา(pokhara)กันก่อน เป็นเมืองท่องเที่ยวอับดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวและชาวเนปาล เพราะ เมืองโปขรานี้ มีที่เที่ยวที่สวยงามและแปลกตาน่าสนใจอยู่ และสถานที่หนึ่ง ที่เมื่อมาถึง เมืองโปขราแล้วไม่ควรพลาด คือ
      Devis fall (น้ำตกเดวี)
               ถือเป็นน้ำตกที่น่าอัศจรรย์และแปลกตามาก คือ เป็นลำธารน้ำล้นออกมาจาก ทะเลสาบเพวา(ทะเลสาบใจของเมืองโปขรา) และก็ไหลมาตามลำธาร พอถึงที่บริเวณนี้ก็น้ำจะทิ้งตัวไหลผ่านช่องตกลงหลุมช่องเขาสู่เบื้องล่างที่ลึกมากกว่า 100 ฟุต ลึกถึงขั้นว่า ผมมองไม่เห็นน้ำด้านล่างเลย มันลึกและมืดมาก น่ากลัว นับเป็นน้ำตกที่มีความลึกที่สุด (ตอนแรกผมเข้าใจ ว่า ชื่อ Devis waterfall แต่เขาย่อลงมา ซึ่งมันไม่ใช่เลย) ค่าบัตรผ่านเข้าชม 30 Rs/คน (สำหรับชาวต่างชาติ)

ทางเข้า Devis fall (สภาพคล้ายๆ เข้าไป ตลาดนัด)

บ่อน้ำอธิษฐาน โดยการตั้งจิตอธิษฐานแล้วโยนเหรียญให้ลงตรงกลาง

แท่นศิวะลึงค์ บริเวณใกล้ๆน้ำตก

    มาดูประวัติของ Devis fall จริงๆกัน
      เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2504 (31 July 1961) มีคู่รัก นักท่องเที่ยวชาวสวิส เดินทางไปเล่นน้ำใกล้กับเขื่อน และ ผู้หญิง(Mrs.Devis)เกิดถูกน้ำพลัดลอยตกลงสู่ด้านล่าง หลังจากนั้น 3 วันก็มีคนพบร่างที่ด้านล่าง จึงได้ชื่อที่นักท่องเที่ยวรู้จักน้ำตกนี้ ว่า Devis fall (เดวีตก) แต่ถ้าเป็นชื่อ เรียกของชาวเนปาลคือ Patale Chango ซึ่งแปลว่า Under waterfall (น้ำตกสู่ใต้พิภพ)

ต้องนำกรงเหล็กสูงมากั้น กันคนพลัดตก และตั้งใจโดด








     จาก Devis fall ก็นั่งแท๊กซี่กลับ มาที่พัก ที่ Lakeside rd.(ถนนริมทะเลสาบ) ค่ารถแท๊กซี่ 400 Rs มองนาฬิกาแล้ว ยังพอมีเวลา เลยออกไป

 PrewaLake // Fewa Lake (ทะเลสาบเพวา)
     สถานที่สำคัญและโด่งดังอีกที่หนึ่งของเมือง ก็คือ Fewa Lake หรือก็คือ ทะเลสาบเพวา เป็นทะเลสาบใหญ่ ใจกลางเมืองโปขรา มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเนปาล (รองจาก Begnas Lake) มีพื้นที่ 5.23 ตารางกิโลเมตร 
     ผมเดินไป บริเวณท่าเรือ ซึ่งวันนี้ผมโชคดีมาก คือเป็นวันหลังวันปีใหม่ของเนปาล ทำให้มีผู้คนและนักบวชมากมายมา รวมตัวกันแถวบริเวณรอบๆ ทะเลสาบเพวา นี้ 





                ท่าเรือนี้ จะสามารถ ข้ามไปยัง เกาะบนทะเลสาบได้ ซึ่งเกาะนี้จะมีวัดฮินดูอยู่บนเกาะ เรียกว่า The Taal Barahi Temple การโดยสารข้ามทะเลสาบนี้ จะมีความเฉพาะ คือ เราต้องไป เช่าเสื้อชูชีพก่อน (คนละ 10Rs) แล้วก็ต้องมาใส่ จากนั้นก็เดินไปที่ เรือเมล์(เรือข้ามฟาก) จะมีคนเรียก คนค่อยดึงเราไปที่เรือ สภาพเรือเป็นการ นำศาลาเหล็ก มีทางขึ้นทางเดียว มาวางผูกมัดไว้ บนเรือไม้ 2 ลำ จะมีคนพายแค่คนเดียว นั่งเรือ ประมาณ 10 นาที ก็ถึงเกาะ พอถึงเกาะกลางน้ำ เราก็ต้องจ่ายเงินค่าโดยสารกับนักพายคนนั้นเลย (ค่าโดยสาร 100 Rs/คน) 


บรรยากาศ ท่าเรือฝั่ง ของ ทะเลสาบเพวา 


        ผมเดินชม ศาสนสถาน วัดฮินดู ไม่นานมากนัก แต่ก็พอที่จะไปเคารพ กราบบูชา เทพฮินดู บนเกาะกลางน้ำแห่งนี้และชมทิวทัศน์รอบๆได้พอสมควร แล้วเราก็กลับมายังฝั่ง(โดยไม่ต้องจ่ายค่าโดยสารแล้ว)

The Taal Barahi Temple บนเกาะกลางน้ำที่ไม่ใหญ่นัก







   บรรยากาศรอบเกาะ ก็สวยงามไม่แพ้กัน แต่ด้วยเวลาที่จำกัดและเย็นมากแล้ว แสงเริ่มน้อย ทำให้อาจจะได้ภาพน้อย



เด็กแว้นเนปาลไม่ได้ขี่มอเตอร์ไซต์ แต่มาใช้ไม่พายหาเงิน

และ เช้าวันที่ 16 เมษายน 2560

       พวกเราก็เดินทางกลับ Kathmandu(กาฐมาณฑุ) โดยเครื่องบิน สายการบิน Yeti Airline (สายการบินท้องถิ่น) โดยพวกเราบิน 9.20 น. แต่ ก็เป็นปกติ Delay ไปอีกประมาณ 15-25 นาที ถึงจะได้ขึ้นเครื่องกันได้ โดยการเดินเท้าจากอาคารไปขึ้นบันไดเครื่องบินเลย เครื่องบินเป็นเครื่องขนาดเล็ก 2 ใบพัด บนเครื่องบินจะมี พนักงานต้อนรับ 1 คน ที่นั่งแถวละ 3 ที่นั่ง 10 แถว ทั้งหมดจะมีผู้โดยสารประมาณ 30 คนต่อรอบบิน บนเครื่องบินจะมี พนักงานต้อนรับ 1 คน

      
สภาพอาคารผู้โดยสารของสนามบิน โปขรา

    
       เมื่อเครื่องบินขึ้น อย่าแปลกใจ ที่ แอร์โฮสเตส จะแจก ลูกอมพร้อมกับสำลี(เพื่ออุดหู) แล้วก็จะ เสิร์ฟ กาแฟ และน้ำเปล่า บนทางเดินแคบๆ (ผมยอมรับว่า เก่งมาก)

พนักงานต้อนรับที่มีทักษะทางเสิร์ฟยอดเยี่ยยม บนเครื่องบินเล็ก ที่สั่นตลอดทาง


Namaste........Pokhara

-------------------------------------------------------------------------

   เมืองกาฏมานฑุ(Kathmandu)

           เมื่อถึงที่ กาฐมาณฑุ Kathmandu (Tribhuvan international airport) โดยDomestic จะอยู่อาคารข้างๆ และก็นั่งรถบัส พาเข้าอาคารเหมือนเดิม จากนั้น ก็เข้าที่พัก ที่ย่านยทาเมล(Thamel) และผมก็ออกเดินทางไป ที่เมือง ปาทัน(Patan) โดย รถยนต์แบบเหมาครึ่งวัน ด้วยเวลาที่มีน้อย คนขับจะส่ง-รอรับพวกเรา โดยตกลงกันจะไป 2 ที่ คือ เขตเมืองโบราณ ปาทัน(Patan) และ วัดโพธินาถ(Boudhanath Stupa) (ค่าเหมารถและคนขับ 20 USDollar)
    
    เขตเมืองโบราณ ปาทัน (Patan city)
            เมือง ปะฎัน หรือ ปาทัน  เป็นเมืองโบราณ ที่ตั้งอยู่ บนที่ราบสูงริมแม่น้ำ ภัคมาตี ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวง กาฐมาณฑุ(Kathmandu) ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร (คล้ายๆกับ ฝั่งธนกับกรุงเทพบ้านเรา ที่มี แม่น้ำมาขั้นกลาง)  เมืองปาทัน ถูกสร้างใน สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช เมืองปาทันได้ชื่อว่า เป็น เมืองคู่แฝดของ กรุงกาฐมาณฑุ และยังได้รับขนานนามว่า เมืองแห่งความงาม(City of Beauty) และยังเป็นที่รู้จักในนาม เมืองแห่งศิลปะ อีกด้วย  โดยเฉพาะ ชื่อเสียง ทางด้านศูนย์กลางงานหัตถศิลป์ของชาวธิเบตอพยพ ซึ่งมีฝีมือในเรื่องพระพุทธรูป นับได้ว่าเป็น นครโบราณที่ยังคงมีชีวิตอยู่ เต็มไปด้วย วัดทางศาสนาทั้งฮินดูและพุทธศาสนา ด้วยความหลายหลายทางด้านวัฒนธรรมในยุคกลางทำให้ทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธเฟื่องฟูมากในแถบนี้ เมืองปาทันนี้ ได้มีการวางแบบผังเมืองและสถาปัตยกรรม แบบ เนวารี คือ มีถนนโบราณตัดตามแนวเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก แบ่งเมืองออกเป็น 4 ส่วน โดยมีจตุรัสปาทานดูร์บาร์และพระราชวังปาทันเป็นจุดศูนย์กลางของเมือง 

      ประวัติคร่าวๆของเมือง ปะทัน
            
       เมืองปาทัน(Patan) ยังมีอีกชื่อเรียก คือ เมือง ลลิตปูร์(Lalitpur) ด้วยปฏิมากรรมและผลงานฝีมือของช่างชาวเนปาลครั้งโบราณเก่าก่อน ซึ่งประกอบไปด้วยพระราชวังโบราณ น้อยใหญ่ ภายในเมืองปาทัน หรือ ลลิตปูร์ มีความหมายและล้ำค่า ในสายตาของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังเมืองแห่งนี้  เมืองลลิตปูร์ หรือ ปาทัน ซึ่งเป็น รากมาจาก คำว่า ปัตนะ ที่มีความหมายว่า "เมือง"   และลลิตปูร์ ที่มาจาก ลลิตปุระ หรือ ลลิตา ซึ่งแปลว่า "สวยงาม" ทำให้เมื่อนำ ลลิตา + ปัตนะ เรียกรวมกัน เป็น ลิลิตปูร์ มีความหมายว่า "เมืองสวยงาม","นครที่งดงาม" เป็นเมืองมรดกโลก เมืองเก่าโบราณ โดยตามความเชื่อและตำนานต่างๆ กล่าวไว้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นผู้สร้างเมืองนี้ขึ้นมา เพื่อจะประดิษฐานเผยแพร่พุทธศาสนาในบริเวณหุบเขากาฏมานฑุ ทำให้รูปแบบแผนผังตัวเมืองปาทัน หรือลลิตปูร์แต่เดิม มีลักษณะเป็นรูปธรรมจักร โดยสร้างสถูปอยู่ที่ 4 มุมเมือง ส่วนศูนย์กลางของเมืองอยู่ที่ จัตุรัสเดอร์บาร์ เป็นศูนย์รวมของ โบราณสถาน โบราณวัตถุ เทวสถาน วัด และพระราชวัง ที่มีความสวยงามและวิจิตรการตาเป็นอย่างมาก  
       แต่ด้วยเหตุการณ์ แผ่นดินไหวใหญ่ เมื่อ เดือน เมษายน 2558 ทำให้ โบราณสถาน พระราชวัง เจดีย์ สถูป วัดวาอาราม ต่างๆ รอบ เมืองกาฐมาณฑุ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก หรือ ถล่มลงมาเลย โดย ณ. ขณะนี้ ก็ยังเป็นซากปรักหักพัง ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมที่ล้าช้ามาก
      
    - จัตุรัสปาทัน (Patan Dubar square)

       ค่าเข้าชม 1000 Rs(รูปี)/ท่าน/วัน โดยจะมีป้อมยามอยู่รอบๆทุกด้าน และจะมีเจ้าหน้าที่ค่อยเดินมองสำรวจ แม้ว่าจะเดินข้ามฝั่งของจัตุรัสก็ต้องจ่ายค่าผ่านทาง(ซึ่งจะเป็นอย่างนี้ทุก จัตุรัส ไม่ว่าจะเป็น ปาทัน กาฐมาณฑุหรือ ภัตตะปูร์)
             
Bhimsen Temple


บริเวณ พื้นที่ จัตุรัส ปาทัน ดูร์บาร์ 

Patan Palace (พระราชวังปาทัน)

         Chyasin Temple (วัดอัษฏะมัลกัล) : วัดแห่งความโชคดี และชัยชนะ โดยมีสัญลักษณ์มงคล 8 อย่าง 
Chyasin Temple (วัดอัษฏะมัลกัล)


         - วัดหิรัณณยะวรรณะมหาวิหาร(Hiranya Varna Mahavihan) หรือ ที่นักท่องเที่ยวรู้กันในนาม วัดทอง (Golden Temple) เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ลักษณะเป็นเจดีย์สูง 3 ชั้น  เป็นที่ประดิษฐานของโลเกศวร(Lokeshwor) หรือ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12 โดยกษัตริย์ภาสกร เวรมา(King Bhaskar Verma) ที่มีชื่อเสียงในฐานะ วัดทองคำ และชั้นบนของเจดีย์จะมีพระพุทธรูปทองคำและธรรมจักรทองคำอยู่ด้วย  และเจดีย์สูง 3 ชั้นนั้นหลังคาทำด้วยแผ่นทองเป็นเส้นยาวลงมาจรดพื้นดินซึ่งสร้างตามความเชื่อที่ว่า จะเป็นดั่งเส้นทางที่เดินสู่สวรรค์ นอกจากนี้ วัดยังประดับตกแต่งด้วยทองเหลืองและทองแดงจนเรืองอร่าม สมเป็นวัดเก่าแก่นับพันปีที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองปาทัน
             ค่าผ่านเข้าชม 50 Rs(รูปี) / ท่าน

สิงคู่ทองคำ หน้าวัดทองคำ






เจดีย์สูง 3 ชั้นที่ทำด้วยทองคำ











ด้านหลังของวัดทองคำ


       - บรรยากาศ รอบๆ จัตุรัสปาทัน
 


เพิ่มคำอธิบายภาพ





    ผมใช้เวลาในการชมสถานที่ต่างๆ บริเวณรอบ จัตุรัสปาทัน ประมาณ 3 ชม. ซึ่งบางคนอาจจะใช้เวลามากกว่านั้น เมื่อได้เวลาก็โดดขึ้นรถยนต์ที่คอยพวกเราอยู่ที่จอดรถ เพื่อไป สถานที่ต่อไปกัน

       วัดโพธินาถ หรือ สถูปโพธินาถ ( Boudhanath stupa)
               
             
         ตั้งอยู่บริเวณที่ราบทางตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจาก เมืองกาฐมาณฑุ 5 กิโลเมตร (จะอยู่ใกล้สนามบิน Tribhuvan international Airport) ซึ่งโพธินาถเป็น ชุมชนชาวทิเบตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเนปาล มีประชากรชาวทิเบตประมาณ 18,000 คน โดยเข้ามาตั้งรากฐานบ้านเรือนกัน ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1959 ทำให้วัดโพธินาถเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธแบบทิเบต ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ทิเบตที่มีความเฟื่องฟูที่สุดแห่งหนึ่งของโลก องค์สถูปจะมีลักษณะ ทรงกลมสีขาวใหญ่ ประดับยอดด้วยภาพ ดวงตาเห็นธรรม สีแดง เหลืองและสีน้ำเงินของพระพุทธเจ้า รอบฐานนั้นมีพระพุทธรูป 108 องค์ ซุ้มคูหาที่ตั้งกงล้อภาวนา 147 คูหา เสารอบสถูปนั้นมีการแขวนธงภาวนา ช่วงเทศกาลปีใหม่ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน เป็นเวลาที่ชาวทิเบตจะมาชุมนุมกันในเครื่องแบบและเครื่องประดับ พร้อมกับภาพเหมือนองค์ดะไลลามะ จะได้รับการอัญเชิญนำขบวนพิธีภายใต้ร่มฉัตรที่ทำมาจากผ้าไหม เป็นเทศกาลแห่งความสุขที่สนุกสนานน่าชมที่สุดเทศกาลหนึ่งของประเทศเนปาล บริเวณโดยรอบองค์สถูป จะมีร้านขายของที่ระลึก ร้านอหารที่มีชั้นบนสำหรับนั่งชมสถูป ที่พักแบบGuesthouse ให้บริการ

          องค์การยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียน วัดโพธินาถ เป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2522
          ค่าผ่านเข้าชม 250 Rs(รูปี)

ทางเข้า วัดโพธินาถ ต้องผ่า ฝูงรถและถนนที่ขรุขระสักหน่อย







ชาวเนปาล ที่แต่งตัวประจำถิ่น มาสักการะสถูปโพธินาถ

บรรยากาศรอบๆ สถูปโพธินาถ

   วันที่ 17 เมษายน 2560 
            วันที่ผมต้องเดินทางกลับ กรุงเทพ แต่เป็นรอบบ่าย ผมเลยมีเวลา พอเยี่ยมชมเมืองกาฐมาณฑุ โดยผมพกกล้อง แบกระเป๋าออกไปตระเวน ถนนย่านทาเมล จนถึง จัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์(Kathmandu Durbar Square)  


             ซึ่งก่อนที่ผม จะถึง จัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์(Kathmandu Durbar Square) ต้องเดินผ่านย่านทาเมลในช่วงเช้าตรู่ ร้านค้ายังไม่เปิด แต่ผมก็เห็นวิถีชีวิตของคนย่านทาเมลในกาฐมาณฑุ
   
Kaathe Swyambhu Shee Stupa


ตลาดสดของชาวเนปาล ที่อยู่ระหว่างทางเดินไป จัตุรัสกาฐมาณฑุ


พ่อค้าแม่ค้าดอกไม้ ส่วยใหญ่จะขายกันใกล้วัด หรือ ศาสนสถานสำคัญที่ชาวเนปาลนับถือ

             จัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์(Kathmandu Durbar Square)  มีชื่อสันสกฤตว่า วสันตปุรทรวารเกษตร หน้าพระราชวังเก่าของอดีตราชอาณาจักรกาฐมาณฑุ เป็นลานจัตุรัสที่สำคัญ 1 ใน 3 ของหุบเขากาฐมาณฑุที่เก่าแก่ และยังได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก ในปี 2522 แต่หลายโบราณสถานได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว เมื่อ วันที่ 25 เมษายน 2558 

             จัตุรัสนี้ เคยเป็นที่ตั้ง วังมัลลกษัตริย์และศาหกษัตริย์ ซึ่งครองอำนาจอยู่ในบริเวณนั้น ทั้งยังมีลานซึ่งประกอบด้วยชานชาลาและวัดมากมาย ลานนั้น ชื่อว่า หนุมานโธคา(Hanuman Dhoka) โดยตั้งชื่อ ตามรูปปั้น หนุมาน ที่อยู่ตรงทางเข้าวัง
                
Taleju Temple กำลังถูกบูรณะ

Krishna Mandir


Gaddi Baithak ที่ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหว


Mahadev Parvati Temple


สภาพ วัง ที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว
        - บ้านกุมารี (Kumari House) สำหรับกุมารี ชาวเนปาลเชื่อว่าเป็น เทพธิดาบนโลกมนุษย์  บางตำนานจะเล่าว่า กุมารี คือ ตัวแทนของเทพตะเลจู ในร่างของเด็กหญิงผู้บริสุทธิ์ เป็นเทพผู้ปกป้องรักษาเมือง กาฐมาณฑุ ในเนปาลมี กุมารี 4 องค์ อยู่ใน 4 เมือง คือ กาฐมาณฑุ ปาทัน ภัตตะปูร์และ กีรติปูร์ แต่กุมารีที่ประทับในเมืองกาฐมาณฑุ จะถือว่า เป็นราชกุมารี และได้รับความเคารพจากกษัตริย์เนปาล
       
ด้านหน้า อาคาร Kumari House

บริเวณภายใน Kumari House



         - Akash Bhairab เป็น ศาสนสถาน ของพระแม่กาลี


เพิ่มคำอธิบายภาพ

เมื่อมองจากภายใน ศาสนสถาน
------------------------------------------------------------------------------

   เก็บตก บนถนนในเมืองกาฐมาณฑุ ก่อนกลับ กรุงเทพมหานคร โดยเครื่องบิน สายการบินไทย ที่ สนามบินนานาชาติ ตรีภูวัน ซึ่งก็มีเรื่องที่น่าสนใจ อีกหน่อย

รถสามล้อ แห่ง เนปาล แตกต่างจากเมืองไทยมากพอสมควร



  สภาพรถประจำทาง ที่อยู่ในเมือง กาฐมาณฑุ จะเห็นคนเสื้อเขียวเหลือง คือ พนักงานเก็บเงิน หรือ กระเป๋ารถเมล์



 รถตู้ของชาวกาฐมาณฑุ ซึ่งที่นี้ ก็จะเรียกว่า รถบัส แต่ที่ น่าสนใจกว่านั้น คือ พนักงานเก็บเงิน จะเอาหัวออกมาเพื่อเรียกลูกค้า และก็มือถือ เงินแบบนี้เสมอ เห็นแล้ว รถตู้ไทยที่ว่าแย่ ก็ไม่อาจสู้กับรถตู้เนปาลได้เลย ข้างในนั่งยิ่งกว่าปลากระป๋องเพราะมี นั่งทับกัน และไม่เปิดแอร์ด้วย โหดสาด.......


 ถ้าอยากรู้ว่า ฝุเมืองนี้เยอะขนาดไหนให้ดู 3 ท่านนี้ ยืนมานานจนต้องใส่ผ้าปิดจมูกกันเลยทีเดียว....5555


และเราก็มาถึงแล้ว สนามบินนานาชาติตรีภูวัน กาฐมาณฑุ เพื่อเดินทางกลับสู่ประเทศไทย
  
Namaste Nepal

-----------------------------------------------------


ความคิดเห็น