รีวิว Review Annapurna Base Camp4 (Ghorepani-Poonhill-Tadapani-Chhommrong-Himalaya) พร้อมเฮ..ที่เนปาล เดินขาบาน ขึ้นเขาไป ABC


สามารถติดตามตอนที่แล้ว รีวิว Review Annapurna Base Camp1 (ก่อนเริ่มเดินทาง)
                                              รีวิว Review Annapurna Base Camp2 (BKK-KTM-Pokhara)
                                              รีวิว Review Annapurna Base Camp 3 (Hinle-Ulleri-Ghorepani)

วันที่ 9 เมษายน 2560 
      วันนี้พวกเราต้องตื่นตั้งแต่เช้า 4.30น. ไปดูพระอาทิตย์ท่อแสงเหลืองกระท้อนกับยอดเขาหิมะบนยอด Poon hill (ความสูง 3210 ม.จากระดับน้ำทะเล) ล้างหน้าแปรงฟัน และแต่งตัว แบบกันความหนาวมากสุด น้ำเปล่า และก็ไม่ต้องเอาของไปเยอะ ยังไงก็ต้องกลับมาเอาสัมภาระและทานอาหารเช้าตอนเดินลงมาอยู่ดี เพราะพี่ดำ ไกด์สุดเยี่ยม เตือนเราว่า ถ้าอากาศที่บนPoonhill ไม่ดีอาจจะหนาวมาก และลมพัดหนาวสะท้านสะเทือนได้ และเป็นการวอร์มก่อนใช้ชีวิตที่ A.B.C.

      เวลา 5.00 น. ก็ออกก้าวเท้า ท้าอากาศหนาวในยามค่ำคืน ต้องเตรียมไฟฉายหรืออุปกรณ์ส่องแสงไปด้วย  พอออกจาก ที่พัก ก็เห็นกระแสฝูงชน เดินกันเป็นทางเดียว(เหมือนฝูงซอมบี้ในหนัง เดินแบบไม่รู้ว่าไปทางไหนแต่ไปตามๆกัน) เพราะก็ร่วมเดินกับฝูงซอมบี้ล่าแสงเช้า ด้วยกัน เลยจากเขตหมู่บ้าน ชะตากรรมก็เริ่มอีกครั้ง บันไดอยุ่ต้องหน้าตามแสงไฟฉายบนหัว เราเดินตามแสงไฟและผู้คนไป ยิ่งเดินยิ่งเหนื่อย ยิ่งเดินยิ่งเมื่อย มองขึ้นไปก็ยังเห็นแสงไปเดินขึ้นกันเป็นแถวเหนือเราไปอีกไกล แล้ผู้คนก็หยุดกองกันเป็นกลุ่มๆ พอมองไปข้างหน้า ก็เห็นป้อมเก็บค่าผ่านทาง คนละ50Rs ซึ่งส่วนนี้จะไม่ร่วมในทริป ต้องจ่ายกันเอง (อย่าลืมติดเงินกันไปด้วย เพราะบางกลุ่มไม่ได้เอาเงินมาจะลำบากมาก) พวกเราโชคดีมีพี่ติดเงินมาก 1 คน นอกนั้น เทออกหมด 555.


        เมื่อผ่านด่านแล้วก็ขึ้นอีกยาวๆ จนเราถึง เสาสัญญาณ ก็คิดว่าถึงแล้ว แต่ยังไม่ใช่ มันแค่ ครึ่งทางเท่านั้น พอได้ยินแทบอยากจะบอกว่า ขอถ่ายรูปแค่นี้ก็ได้นะ..... เพราะขึ้นมาครึ่งหนึ่งก็จะไม่ไหวแล้วแต่ด้วยว่า ไหนๆก็มาถึงแล้ว ขอไปให้สุดทาง สุดกำลัง พักสักพัก ก็กัดฟันเดินขึ้นต่อ ฟ้าเริ่มมีแสงสว่าง พวกเราเริ่มปิดไฟฉาย ระหว่างทาง ก็มีคนต่างชาติยืนน้ำตาไหล เขาไม่สามารถไปต่อได้ไม่รู้เพราะเหนื่อย เมื่อย ปวด หมดพลัง หรือ ปวดหัวจากโรคแพ้ความสูง เราก็ผ่านไปพร้อมภาวนาว่า อย่าเป็นไร ไปให้ถึง ขึ้นมาได้อีก 15-20 นาที ก็พบกับ ภาพที่เป็นพาโนรามา เห็นยอดหิมะหลายยอด กับผู้คนเป็นล้าน เราไม่รอช้า หามุม ว่า ขาตั้งกล้อง ทันที เพราะแสงทองขึ้นมาสักพักหนึ่งแล้ว(ใครขึ้นควรเริ่มเดินสัก 4.30-5.00 น. ด้วยที่เราไซส์เอเซีย จะเดินช้ากว่าพวกฝรั่ง แต่ความชันที่มากเหนือ 3000 ม. อากาศจะน้อย เหนื่อยง่าย หายใจยาก ทำให้ต้องหยุดพักเรื่อยๆ)



ชูธงชาติไทย บนPoon hill กับ ยอดไกด์ชั้นเยี่ยม

ถ่ายรูปกับ เดอะแกงค์ บน Poon hill 





The tower บนยอด poonhill



มองให้ไกล แล้วเราจะไปหา(South annapurna)



มุมมหาชน บนยอด Pool hill






    เมื่อได้เวลา  พวกเราก็เริ่มเดินลงจาก Poon hill กัน เพื่อลงมาที่พัก และก็เก็บสัมภาระออกเดินทางต่อ

ขนาดทางเดินลงจาก Poon hill ยังงามงดหมดจดเลย



    เวลา 9.00น. วันนี้เราจะต้องเดินลง(Ghorepani)  ได้เวลา Say Good bye Ghorepani and Poon hill

ประตูทางออก จากGhorepani

     ช่วงแรกออกจากGhorepani จะเป็นทางลงไปด้านล่าง พอลงจนสุดถึงสะพานข้ามลำธารก็เป็นมหกรรมการขึ้นแบบทรหดอดทน มองขึ้นไปก็ไม่สุดทางสักที่ เดินแล้วก็ถามพี่ดำว่าอีกไกลไหม? พี่ดำก็ตอบ อย่างมั้นใจว่า ไม่ไกล แค่นี้......เอง คิดในใจทันที "คุณหลอกดาวตลอด"




       
       แล้วเราก็เดินๆพักๆ มาจนถึงยอดเขาสักที  แต่พอเจอกับวิวสวยๆ มันทำให้เราได้ผ่อนคลาย แล้วพี่ดำ ก็บอกว่า ไม่มีเดินขึ้นอีกแล้ว จะเป็นทางเรียบและก็จะเป็นทางเดินลงสุดทางจนถึงลำธารน้ำตก ตอนที่เราเดินลง พบนักเดินป่าขึ้นเขาอยู่เรื่อยๆ ก็คิดขึ้นมาในหัว......สงสารนักเดินเขาที่สวนขึ้นมาว่า "ต้องขึ้นแบบโครตเหนื่อยเลยล่ะ"


หยุดพักที่ปลายยอดเขา แล้วเราจะเดินลงกันต่อ

ลูกหาบ แบกของสัมภาระของนัดเดินป่า

เดินลงกันไปให้สุดทาง


จุดที่ต่ำสุดของช่วงนี้ แล้ว

        เมื่อถึง จุดต่ำสุด ก็จะพบกับลำธาร พวกเราก็ต้องเดินตามลำธารไปกันต่อสักพักใหญ่ พวกเราก็พักทานข้าวเที่ยวกันที่ Deurali พอทานเสร็จเราก็เดินเรียบไปกับลำธารต่อไปเรื่อยๆ จนช่วงท้ายก็ต้องเดินขึ้นอีกครั้งไปสู่ ที่พัก Tadapani ซึ่งก็ยังเป็นจุดที่พัก ต่ำกว่า Ghorepani อยู่ แต่ก็ยังต้องขึ้นเขาไปอยู่ดี


กอง เจดีย์หิน ที่วางกันเต็มพื้นที่ ริมลำธาร


    เวลา 16.00 น.พวกเราก็ถึงพักกันที่ Supper Guesthouse ในTadapani วันนี้ ผมเดินขึ้น-ลงสุดยอดเขาไป 3 ลูกเต็ม (Poon Hill - ภูเขาติดกับGhorepani - Tadapani) ไม่มีคำพูดใดๆจะอธิบาย และก็เป็นคืนแรกที่เราไม่ได้อาบน้ำ เพราะทั้งที่พักมี ห้องอาบน้ำห้องเดียว(เน้น!! ว่า ห้องเดียว) กับห้องน้ำ 2 ห้องกับคนมากมาย เต็มทุกห้อง ประมาณ 15 ห้อง มีกลุ่มนักเดินเขาคนไทย รออาบน้ำกลุ่มใหญ่ พวกเราเลยอาบแห้งกันวันนี้..... นอนฟิน ดมกลิ่นกันไป๋ ทั้งคืน หลับสบายหายห่วง 555.

ห้องพัก Tadapani

วิวหลัง ที่พัก Tadapani

เตียงเปล ของ เด็กภูเขา ชาวเนปาล

วันที่ 10 เมษายน 2560


         ตื่นๆ กัน 6.30น. คืนนี้นอนยาว จากเหนื่อยมาหลายวัน ตื่นมาก็พบกับวิวสบายๆ แปรงฟัน ล้างหน้ารับอรุณบนหน้าผา กับฟ้าสีทอง และลมแรงๆที่พัดผ่านร่องเขามา ประสบการณ์แปรงฟันที่หนาวทุกอณุฟัน เย็นไปทุกซี่ฟันแบบไม่มีลำเอียง




        หลังทานอาหารเช้า กับวิวธรรมชาติ หลังภูเขาใหญ่ ก็ได้เวลา ขยับขากันอีกครั้ง โดยวันนี้จะไม่ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นทางลงชันบาง ไม่ชันบาง ทางเรียบเป็นส่วนใหญ่ จะเดินขึ้นช่วงท้ายก่อนถึง หมู่บ้านChhomrong ทำให้เราได้มีโอกาส ได้มองวิว เก็บบรรยากาศรอบด้าน ได้อย่างเต็มอิ่ม มีเวลาได้ผ่อนคลาย แต่วันนี้เป็นวันที่เราเดินทางไกลที่สุด แต่ก็ยังถือเป็นวันสบายๆในการเดิน


ฝูงม้า ตามทุ่งหญ้ากว้าง





ต้องลงไปจนถึงลำธารด้านล่าง เพื่อข้ามไปอีกเขา



ข้าวบาร์เลย์ ที่มีเต็มทุ่ง บนหน้าผา ขั้นบันได

สูดหายใจให้หมดแล้วจะสดชื่น555


จุดข้าม ภูเขา แบบลูกต่อลูก






           และยังได้พบกับฝูงอีแร้ง บินวนไปมา ไม่ต่ำกว่า 10 ตัว ที่กำลัง หาหนู หางู จากไร่นาขันบันไดของชาวบ้าน ก่อนถึงหมู่บ้าน Chhomrong






ฝูงควาย นอนอาบแดด ไม่รู้ว่า จะหนาวหรือร้อนดี แต่แน่ๆ วิวดีเวอร์


          เวลา 16.00 น. ก็ถึงChhomrong เป็นหมู่บ้านที่จะเรียกว่า เป็น ศูนย์กลาง หมู่บ้านเชื่อมต่อ ของการเดินทางไป ABC. และที่ต่างๆ ไม่ว่า มาจาก Nyapul,Grandrukหรือ เป็นGhorepani ก็ต้องมาผ่านที่ Chhomrong เป็นประตูสู่ ABC. เลยก็ว่าได้

อาคารเหลือง บริเวณ ทางเข้าหมู่บ้าน Chhomrong





       เวลาเราพยายามเดินกันให้เร็ว เนื่องจาก พี่เอมี่ บอกว่า ที่นี้ มีร้านเบเกอรี่(Bakery)ที่วิวดีงาม เป็นเป้าหมายหลักหลังจากรู้สึกขาดแคลน ร้านเบเกอรี่มานาน แต่เป้าหมายที่มากกว่านั้น คือ การอาบน้ำ เพราะอากาศวันนี้ที่เดินกลางแดดร้อนมาตลอด ทำให้มีเหงื่อมากบวกับที่ไม่ได้อาบเมื่อวาน เลยเป็นเป้าหมายสำคัญ พออาบน้ำเสร็จอย่างรวดเร็ว ก็ได้เวลาตามหา ร้านBekery ที่หมู่บ้านนี้จะมีร้านเบเกอรี่อยู่ประมาณ 2-3 ร้าน มีลานกีฬา โรงเรียน และที่พักมากมายให้เลือก

หน้าตาดูดี แต่รสชาติก็ตามระยะทางที่ผ่านมา รสชาติก็อาจจะตกผ่านไป

รสชาติอาจจะธรรมดา แต่วิวเกินกว่าธรรมดาจะพบเจอได้

ราคาหลายร้อย แต่วิวหลายล้าน


ดื่มด่ำกับรสชาติที่ไม่คุ้นเคย

          ตอนกลางคืน หลังทานอาหารเย็น พี่เอมี่เริ่มแลกจ่าย บางคนก็ดื่มน้ำขิงกัน เม็ดกระเทียมอัดเม็ด ให้ทานกันอีกครั้ง และก็มีลานกว้างและพอมีเวลาให้ได้ถ่ายรูปกลางคืน ผมถ่ายรูปสักพักใหญ่ๆ น่าจะประมาณ 22.00น. ได้ ก็เห็น ลูกหาบ แบกของเดินเข้ามาในเขตที่พัก ก็สงสัยว่า ทำไมเข้ามาดึกจัง แล้วอีกสักพักใหญ่ๆ ก็มีกลุ่มฝรั่งนักเดินเขา 6-7 คน ก็เดินเข้ามา ได้ยิน พอจับใจความได้ว่า ลงมาจาก ABC. แล้วหาที่พักไม่ได้ เต็มหมด จนต้องเดินเรื่อยมาหามาจนถึงที Chhomrong ผมตกใจเลย เพราะต้องเดินผ่าความมืดและระยะทางที่ยาวไกล. ทำให้เราคิดแวบมาว่า หลังจากนี้ "เราคาดเดาอะไรไม่ได้ ต้องเตรียมทุกอย่างและร่างกายให้พร้อมตลอดเวลา"



วันที่ 11 เมษายน 2560

      ผมตื่นขึ้นมา ดูพระอาทิตย์ขึ้นที่ระเบียงชั้นสอง ของที่พัก มันเป็นจุดที่มองเห็น เทือกเขาหิมะ สลับกับ ภูเขาป่าเขียวขจี อย่างมีมิติ




     ดื่มด่ำกับรสชาต บรรยากาศที่สวยงาม ของยอดเขาหิมะแบบเต็มอิ่ม แล้วก็มาจัดของ โดยแบ่ง ของที่ไม่จำเป็นต้องนำขึ้นไปต่อ จำพวกเสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ และอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์(ยกเว้น ปลา) ไว้ที่พักนี้ เพระาที่นี้ พวกเราจะเดินขึ้นไปและก็กลับมาทางเดิม จนถึงที่ Chhomrong แล้วพวกเราก็จะลงเขาไปอีกทางหนึ่ง ดังนั้น พวกเรา สามารถฝากของแล้วมาเอาได้ตอนขากลับ (ช่วยลดน้ำหนัก ให้กับลูกหาบด้วย เพราะ อากาศข้างบนมันจะน้อยและเหนื่อยง่ายขึ้นเร็วมาก)

       วันนี้ คือ วันที่เดินลำบากที่สุดสำหรับพวกเรา ทางลงมีแค่ช่วงที่ลงจากหมู่บ้านChhomrong ถึง ลำธาร เท่านั้น นอกนั้น พวกเราต้องเดินขึ้นล้วนๆ มันเหมือนคำท้าทายที่ดูแล้วดีใจมาก แต่เราก็ต้องเดินต่อไปให้ถึงที่สุด ก็เดินมาถึงที่นี้แล้วนิน่า ก็ต้องไปต่อ "กลับตัวก็ไม่ได้ ให้เดินต่อไปก็น่าจะถึง"(เพลงพี่เบิร์ดแวบขึ้นมาในหูทันที 555)
      ก่อนเราจะออกจากตัวหมู่บ้าน ก็จะมีด่าน check ชื่อ เข้าออก พี่ดำมาเล่าให้ ฟังว่า เจ้าหน้าที่ ตกใจมาก ที่ช่วง2-3วันนี้ มี นักเดินทางเดินเขา ผ่านจุดนี้ไป เกินกว่าจำนวนมาตรฐานปกติถึง 250% แค่ตอนที่เราเดินผ่านจุดนี้ ประมาณ 8.15 น. พวกเราก็อยู่ที่ อันดับที่ 80 กว่ากันแล้ว เจ้าหน้าที่บอกเลย ว่าไม่เคยเจอนักเดินทางมามากขนาดนี้มาก่อน...... ก็ใช่สิครับ แค่คนไทยก็มากมายแล้ว ไม่ต่างจากเดินขึ้นภูกระดึงเลย.


พวกเรามีโอกาสได้เห็น หิมะถล่ม จากไกลๆ จากหลัง จุดCheck point

         และก็เลยจากจุดนี้ไป เขาห้าม นำอาหารที่มีเนื้อหมู เนื้อวัว ไก่ เป็ด หรือง่ายๆ คือ ห้ามนำอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์นอกจาก ปลา เท่านั้น ผ่านจากตรงนี้ไป เพราะเป็นความเชื่อของชาวบ้านและคนเนปาลว่า Annapurna เป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าในฮินดู ถ้าใครนำเนื้อสัตว์ผ่านเข้าไปในเขตเทือกเขาโซนหิมะ จะทำให้เกิดภัยพิบัตแก่พื้นที่ และอาจจะเป็นภัยแก่ผู้ที่นำเข้าไป อาจจะป่วย หรือ ประสบอุบัติเหตุร้ายแรง ได้ (ซึ่งจะมีป้ายเตือนบอก)

         เลยด่านมา เราก็ลงต่อ สบาย ชิวๆ แต่พอคิดไปเรื่อยๆ ก็คิดได้ว่า เราลงมากเท่าไร ขากลับก็ต้องใช้คืนหนักเท่านั้นนิน่า คิดได้ก็ น้ำตาจะไหลเป็นทาง T T  เดินชิวได้ไม่นานก็เจอ สะพานข้าม มันคือ ความหมายว่า เราข้ามไปแล้วก็ต้องขึ้น เขาอีกลูกเป็นที่แน่นอน และก็ขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ความชิวที่ผ่านมาหายไหลไปพร้อมกับน้ำใต้สะพานทันที่ 55.

หลังจากสะพานนั้น เราก็จะขึ้นตลอดทาง 




        เราพักทานข้าวกันที่ Bamboo เวลา 12.00น. พอดี อาหารของที่นี้ถือ ว่า อร่อยเลย สลัดผัก เหมือนกับบ้านเราเลย. พี่ดำไกด์เราก็ได้จองที่พักไว้ สำหรับพวกเราในช่วงที่เราเดินทางกลับมาเรียบร้อย แล้วเราก็เดินทางขาขึ้นมือก่ายหน้าผากปาดเหงื่อกันต่อ จะพบกับคนไทยกลุ่มต่างๆ ที่กำลังเดินลงตลอดทาง จะได้รับคำทักทาย "สวัสดีครับ/คะ" "สู้ๆนะครับ/คะ." "ข้างบนสวยมากครับ/คะ" ค่อยให้กำลังใจกันตลอดทาง อบอุ่นใจเหมือนได้อยู่บ้านเรากันเอง555
        ทิวทัศน์ในเส้นทางเดินวันนี้ เราจะลัดเลาะ เรียบแม่น้ำไปกันจนถึง MBC เลย บางช่วงก็จะได้ยินเสียงน้ำอยู่ข้างๆ ให้ชื่นใจ








บรรยากาศ ที่พัก Himalaya

           เวลาประมาณ 14.40 น. เราก็ถึงที่พักแบบทุลักทุเล แต่ก็ยังถึงที่พัก จนได้  Himalaya มาถึงไม่ต้องคิดเลย ว่าจะอาบน้ำไหม ตอบเลยว่า ไม่ หนาวมาก หนาวเกิน ขอแค่ได้พักให้หายเหนื่อยก็พอ แต่พยายามอย่าเผลอหลับช่วงหยุดพักนะครับ มันอาจจะมีผลต่อโรคแพ้ความสูงได้ ช่วงทานมื้อเย็น ผมเริ่ม สั่งน้ำซุปกระเทียม (เชื่อว่า ช่วยโรคแพ้ความสูงได้) พร้อมกับ กระเทียมอัดเม็ด จากพี่เอมี ทานเสร็จก็แปรงฟัน ไม่พูดจาเข้านอนทันที จริงๆตาจะปิดตั้งแต่ทานข้าวแล้ว

ห้องพักที่ Himalaya



.........................................................................................................

      แต่มื้อข้าวเย็นวันนี้ มีเรื่องทำให้ผมเศร้าใจกับนิสัยที่ไม่ดีของคนไทยอีกครั้ง คือ จากChhomrong มาก็ห้ามนำเนื้อสัตว์ขึ้นมา แต่บนโต๊ะอาหาร อีกด้านก็มีกลุ่มวัยรุ่น หนุ่มสาวสัก 5-6 คน นำ หมูแผ่น และ อาหารซองปรุงสำเร็จ ไก่กระเพราะ ขึ้นมา คนที่รู้มองกลุ่มนี้อย่างสงสัย และก็มีคนในกลุ่ม บอกคนที่เอาว่า "เขาห้ามเอามานะ"
     แต่หนุ่มไร้จิตสำนึกคนนั้น ตอบกลับทันที "ไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจะเอาแรงที่ไหนเดินล่ะว่ะ"
   


      พอฟังคำจากปากอันไร้ความคิด เห็นแก่ตัว และไม่มีจิตสำนึก ผมถึงกับอึ้งในคำตอบนั้น และอายคนชาติอื่นแทนคนไทยมากๆ
          ทำให้ผมรู้เลย ว่า นักท่องเที่ยว นักเดินทางคนไทย ยังมีนิสัยที่แย่ๆอยู่อีก ทำให้ ชื่อเสียงและความน่ารักของคนไทยที่มีต่อชาวโลกหมดไป เพราะชาวเนปาลและชาวต่างชาติเขามองก็ออกแต่ไม่มีใครพูด (ที่ผมรู้ว่าชาวเนปาลรู้ ก็เพราะขณะที่ผมทานข้าวกัน ก็มีชาวเนปาลพาเพื่อนมาเดินเขา แล้วมานั่งข้างๆเรา และได้มีโอกาสพูดคุยกัน เขาเห็นกล่องปลากรอบปรุงรส เขาก็เลยถามว่า "อันนี้คืออะไร" ผมตอบไปว่า "ปลา" เขาก็ยิ้มออกมา)
    คำตอบที่ได้มาชั่งเห็นแก่ตัวมากๆ ถ้าไม่กินเนื้อจะมีแรงเดินหรือ?? --- แล้วคนอื่น คนชาติอื่น หรือ ลูกหาบที่แบกของหนักกว่า หนุ่มไร้สำนึก มากมาย เขาเดินกันยังไงล่ะ
    หรือ ถ้าคิดว่า มาแล้ว ต้องแหกกฎ แหกวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่สามารถทำตามได้ ก็อย่ามา หรือหยุดที่ Chhomrongจะดีกว่าไหม??
    ทำไมผมถึงโกรธ เพราะคิดในมุมกลับกัน ถ้านักท่องเที่ยวต่างชาติ มาทำ หรือ แหกในสิ่งที่เราเชื่อ นับถือ ที่บ้านเมืองเรา เราก็คงรู้สึกไม่ดีเหมือนกัน ใจเขาใจเรา
       และมันเป็นการกระทำแบบไร้ความรับผิดชอบ เพราะ หนุ่มไร้สำนึก มาแค่ไม่กี่วัน ถ้ามันเกิดเหตุกับตัวก็ถือว่า รับกรรมไป แต่ถ้าไม่ ชาวบ้านล่ะ? เขาต้องอยู่ที่นั้น ใช้ชีวิตบนความเชื่ออยู่ที่นั้น ไปอีกช่วงอายุคน เขาจะคิดยังไง?? ผมไม่ได้งมงาย แต่ผมเข้าใจในความเชื่อของผู้คน เมื่อเราเชื่อสิ่งใด นับถือสิ่งใดก็ต้องให้ความเคารพอย่างจริงจังกับสิ่งนั้น
       และถ้าเขาไม่ชอบในสิ่ง ที่ หนุ่มไร้สำนึกทำล่ะ คนไทยที่ตามไปในอนาคต อาจจะลำบาก ไม่ได้รับการต้อนรับ โดยที่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิดเลยสักนิด??
       ไม่ว่า คนไทยจะไปไหน ส่วนใหญ่จะเป็นที่รักของ คนในท้องถิ่นนั้นๆ เสมอ อย่าทำร้าย ทำลายสิ่งดีงาม ความสัมพันธ์ที่ดี จากความเห็นแก่ตัว ไร้จิตสำนึก คิดแค่ตัวกูของกูจนลืมมองคนอื่นเลย เพื่อให้พวกเราคนไทยยังได้รับความสวยงาม คำชื่นชมดีๆ จากทั่วโลก อ้ามือต้อนรับพวกเราด้วยรอยยิ้มที่จริงใจจะดีกว่ามากๆ มันเป็นความประทับใจที่สวยงามทั้งเขาและเราไม่ดีกว่าหรือ??
 
..................................................................................................................................................................

 คำแนะนำการเดินทาง
       - ช่วงอากาศหนาวในตอนกลางคืน จะหนาวเย็น ควรใส่หมวกไหมพรมให้ศีรษะอุ่น กันการเป็นไข้ เป็นหวัด ไม่สบายได้ พยายามทำให้ร่างกายอุ่นเสมอ
       - ควรมีเสื้อกันหนาวแบบพกพา ควรพกติดตัวไว้เสมอ พอช่วงหยุดพักทานอาหารกลางวัน หรือ ถึงที่พัก ควรหยิบ เปลี่ยนมาใส่เสื้อกันหนาวทันที
       - อย่าลืม ดื่มน้ำกันมากๆนะ
   ---------------------------------------------------------------------------

ติดตามตอนต่อไป ที่ รีวิว Review Annapurna Base Camp5 (Himalaya-ABC-ฺBamboo-New Bridge-Nayapul-Pokhara)
   
กด Like ติดตามข้อมูลท่องเที่ยวดีๆ ได้ที่ www.facebook.com/backpackgo 
 

ความคิดเห็น